การส่งบทความ (วารสารวิชาการปทุมวัน)

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  •  บทความนี้เป็นบทความของข้าพเจ้าเพียงผู้เดียวหรือเป็นบทความของข้าพเจ้าและผู้ที่ระบุชื่อในผลงานและได้รับความยินยอมจากผู้ที่ระบุชื่อในผลงานในการส่งบทความเพื่อการเผยแพร่
  •  บทความที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณาออกเผยแพร่ต้องไม่เป็นบทความที่เคยได้รับการเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อนและต้องไม่เป็นบทความที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
  •  วารสารขอสงวนสิทธ์ในการรับพิจารณาบทความที่มีการจัดรูปแบบตามที่ทางวารสารกำหนดเท่านั้นและกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการจัดทำรูปเล่มวารสารฯ เพื่อตีพิมพ์ตามความเหมาะสม
  •  บทความข้อความภาพประกอบและตารางที่ลงตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ส่งบทความกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไปและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความ
คำแนะนำผู้แต่ง

วารสารวิชาการปทุมวันประกอบด้วยบทความรับเชิญ บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือบทความปริทัศน์ บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ในวารสารจะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง

องค์ประกอบของบทความ
ชื่อเรื่อง (Title) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรให้มีความกระชับและตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง
ชื่อผู้เขียน (Author(s)) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษพิมพ์เฉพาะชื่อนามสกุลเท่านั้น
สถานที่ทำงาน (Institutional Affiliation(s)) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้บอกหน่วยงานที่สังกัด ชื่อสถาบัน และที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ทางไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน ระบุจังหวัดและรหัส และ E-mail address
บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษย่อหน้าเดียว สรุปสาระสำคัญของเรื่อง โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา และผลการศึกษาและสรุป ไม่ควรเกิน 250 คำ และให้ระบุคำสำคัญไว้ท้ายบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวนไม่เกิน 5 คำ ในการเขียนบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษควรมีเนื้อหาตรงกัน
เนื้อหาของบทความ (Main text) แบ่งเป็น 2 ประเภท มีรายละเอียดดังนี้
1. บทความวิชาการหรือบทความปริทัศน์ (Tutorial papers or Review articles) หัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้ชัดเจนและมีการลำดับเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้อย่างชัดเจน รวมถึงมีการใช้ทฤษฎีวิเคราะห์และเสนอแนะประเด็นอย่างสมบูรณ์
2. บทความวิจัย (Research papers) ควรมีการนำเสนอการวิจัยและผลการวิจัยที่ได้รับตามระเบียบวิธีวิจัย โดยควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
2.1 บทนำ (Introduction) ที่ครอบคลุมความสำคัญ และที่มาของปัญหาวิจัย ภาพรวมของบทความ พร้อมทั้งเสนอการทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมา
2.2 วิธีการวิจัย (Research Methodology)
– บทความวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ ควรอธิบายเกี่ยวกับเครื่องมือ อุปกรณ์ สารเคมี และวิธีการที่ใช้ในการวิจัย
– บทความวิจัยด้านสังคมศาสตร์ ควรอธิบายวิธีดำเนินการวิจัยโดยกล่าวถึงวิธีการสุ่มตัวอย่าง ที่มาของกลุ่มตัวอย่าง แหล่งที่มาของข้อมูล การเก็บและรวบรวมข้อมูล การใช้เครื่องมือสถิติที่ใช้ในการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล
2.3 ผลการศึกษาและการอภิปราย (Results and Discussion) ส่วนของผลการศึกษาให้บรรยายสิ่งที่ได้จากการวิจัยเป็นสำคัญ พร้อมเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง กราฟ ภาพ หรือ แผนภูมิ ประกอบได้ ส่วนของการอภิปรายผลควรเชื่อมโยงกับผลการศึกษาว่าสอดคล้องกับสมมติฐานหรือแตกต่างจากผลงานวิจัยที่มีผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่อย่างไร และด้วยเหตุผลใด โดยต้องมีการอ้างอิงที่เชื่อถือได้
2.4 สรุป (Conclusion) เป็นการสรุปผลที่ได้จากการวิจัย
2.5 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) อาจมีหรือไม่ก็ได้
2.6 เอกสารอ้างอิง (References)

การเขียนเอกสารอ้างอิง (References) เอกสารการอ้างอิงทุกฉบับต้องมีการอ้างอิงหรือกล่าวถึงในบทความ หัวข้อเอกสารอ้างอิงไม่ต้องใส่หมายเลขกำกับหน้าหัวข้อ การเรียงลำดับเลขการอ้างอิงตามเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ รูปแบบที่ใช้อ้างอิงโดยการเรียงลำดับหมายเลข โดยใช้เลขอารบิคภายใต้วงเล็บใหญ่ต่อจากบทความที่จะอ้างอิง (ตัวอย่าง เช่น Waiyapattanakorn [1] described the practical operating condition of the antenna. หรือ Taramasso และคณะ [2] ได้จดสิทธิบัตรตัวเร่งปฏิกิริยา) หากอ้างอิงซ้ำรายการเดิมให้ใช้หมายเลขเดิม

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือ
ชื่อผู้แต่งหรือบรรณาธิการ, ชื่อหนังสือ, ครั้งที่พิมพ์, สำนักพิมพ์, สถานที่พิมพ์, ปีที่พิมพ์, หน้า.
กรณีที่เป็นบรรณาธิการให้ใส่คำว่า (บรรณาธิการ) ข้างหลังชื่อคนไทย และ (Ed.) ข้างหลังชื่อชาวต่างประเทศหากมีมากกว่า 1 คนใช้ (Eds.)
2. บทความในวารสาร
ชื่อผู้แต่ง, “ชื่อบทความ,” ชื่อเต็มของวารสาร, ปีที่ (Vol.), ฉบับที่หรือเล่มที่ (No.), ปีที่พิมพ์, หน้า.
3. บทความในรายงานการประชุมทางวิชาการ
ชื่อผู้แต่ง, “ชื่อบทความ,” ชื่อการประชุม, ครั้งที่ประชุม (ถ้ามี), สถานที่ประชุม, ปีที่ประชุม, หน้า.
4. บทความในหนังสือ
ชื่อผู้เขียนบทความ, “ชื่อบทความ,” ใน ชื่อหนังสือ, ชื่อบรรณาธิการหรือผู้รวบรวม, ครั้งที่พิมพ์, สำนักพิมพ์, สถานที่พิมพ์, ปีที่พิมพ์, หน้า.
5. วิทยานิพนธ์
ชื่อผู้แต่ง, ชื่อวิทยานิพนธ์, วิทยานิพนธ์ปริญญา….. สาขาวิชา….. คณะ….. มหาวิทยาลัย….. , ปีที่พิมพ์, หน้า…
6. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
6.1 เอกสารฉบับเต็ม (Full – text) จากฐานข้อมูลออนไลน์
ชื่อผู้เขียนบทความ, ชื่อบทความ, ชื่อวารสาร [Electronic], ปีที่ (Vol.), ฉบับที่หรือเล่มที่ (No.), ปีที่พิมพ์, หน้า, Available : ชื่อผู้จัดพิมพ์/ชื่อฐานข้อมูล [วันที่สืบค้น].
6.2 สารสนเทศจาก World Wide Web
ชื่อผู้เขียนบทความ, ชื่อของ Web Page [Online], ปีที่พิมพ์, Available : URL [วันที่สืบค้น].

ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์

    เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการปทุมวันถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
     บทความ ข้อมูล เนื้อหา ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการปทุมวันถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการปทุมวัน หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการปทุมวันก่อนเท่านั้น