งานความร่วมมือ (CO-OP)

 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2566 สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เสถียร ธัญญศรีรัตน์ อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจากสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 นำโดยนายอรรถการ ตฤษณารังสี นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 พร้อมด้วยนายสมศักดิ์ บุญโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 และคณะผู้บริหาร ในพิธีลงนามพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กับ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ณ ห้องประชุมสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ชั้น 7 อาคารเฉลิมพระเกียรติ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน โดยมีพันธกิจในการผลิตบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผลิตบุคลากรในระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี โดยทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันในการผลิตและพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน และการวิจัยเพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม รวมทั้งการวิจัยเชิงนโยบายเพื่อพัฒนากำลังคนด้านอุตสาหกรรม ตลอดจนการฝึกอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

       เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 สำนักวิจัยและบริการวิชาการ ได้ดำเนินการจัดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กับ บริษัท เคพีไอ อินโนเวชั่น จำกัด และ บริษัท ซิสทรอนิกส์ จำกัด เพื่อประสานความร่วมมือทางเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ และส่งเสริมการนำองค์ความรู้ การวิจัย พัฒนาทางวิชาการ และผลิตบุคลากรไปร่วมขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ และประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับในด้านต่าง ๆ

      เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2564 สำนักวิจัยและบริการวิชาการ โดยฝ่ายบริการวิชาการงานความ ได้ดำเนินการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ วิจัยและสร้างนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กับ 20 สถานประกอบการ ณ ห้องประชุมสวัสดิวัดนวิศิษฐ์ ชั้น 7 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.เสถียร ธัญญศรีรัตน์ รักษาราชการแทนอธิการบดี เป็นประธานในพิธีลงนาม พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์วิฑูรย์ อบรม ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการวิชาการ (ประธานดำเนินการ) และคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย 
      ในการนี้ ได้รับเกียรติจากนายถาวร ชลัษเฐียร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ และ นายอรรถการ ตฤษณารังสี รองประธานสภาหอการค้าไทย ให้เกียรติเป็นพยานผู้ทรงคุณวุฒิในพิธีลงนามดังกล่าว สำหรับการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกัน ทั้งด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจัก รวมถึงงานวิจัย นวัตกรรมและองค์ความรู้ ฯลฯ อีกทั้ง เป็นการดำเนินภารกิจหลักการจัดการศึกษาตามนโยบายของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนทางการจัดการศึกษา ซึ่งแต่ละหน่วยงานล้วนมีเอกลักษณ์และความแตกต่าง เมื่อได้มีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรและองค์ความรู้ร่วมกัน จะสามารถก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในวงการการศึกษา อันเป็นการยกระดับ พัฒนาการศึกษาและงานวิจัยได้ในอนาคต